วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำผ้ามัดย้อม


ผ้ามัดย้อม
โรงเรียนบ้านพร่อน
หมู่ 2 ตำบลพร่อน  อำเภอเมือง  จังหวีดยะลา
โทร  073 – 252660
การทำผ้าบาติกมัดย้อม
                การทำผ้าบาติกมัดย้อม  เป็นการตกแต่งลวดลายบนผืนผ้าให้เกิดความสวยงามและสร้างมูลค่าให้แก่พื้นผ้า  การทำผ้าบาติกเป็นการปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติดด้วยเทียน แล้วนำไปย้อมหรือระบายสี  นอกจากนันเมื่อนำไปย้อมในน้ำย้อมครั้งแรกนำขึ้นมาปิดสีแรกด้วยเทียนแล้วนชำไปทำให้เทียนแตก  จะเกิดลวดลายเป็นรอยแตกบนสีแรกเมื่อนำไปย้อมสีที่สอง คือสีที่สองจะแทรกซึมเข้าสู่เนื้อผ้าในส่วนที่เทียนแตก จึงทำให้เกิดลวดลายเส้นขึ้น ส่วนการหมัดย้อมเป็นการกันสีโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยในการมัด ผูก เย็บ เนา พับ เพื่อให้เกิดลวดลายบนพื้นผ้า  ซึ่งลักษณะลวดลายเกิดจากเทคนิคบาติกและมัดย้อมจะมีความแตกต่างกัน มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นเทคนิคการปิดสีเช่นกัน
อุปกรณ์
-          ผ้ามัสลิน  ผ้าฝ้าย  ผ้าลินิน
-          กะละมัง
-          น้ำ
-          สี
-          เชือกฟางหรือยาง ซิลิเกด

ขั้นตอนการย้อมผ้า  คือ
1.       ออกแบบผ้า  แล้วบิดให้เป็นรอย   ควร นำเชือกฝางหรือยาง มามัดผ้า 
2.       ใช้พู่กันจุ่มน้ำ  ทาบนลงผ้าตามต้องการ
3.       นำปลายผ้าที่มัดไว้จุ่มน้ำ  เพื่อให้สีวิ่งตามลายผ้า
4.       ใช้กรรไกรตัดเชือกฟางที่มัดออก  แล้วนำผ้าไปตากแดดให้แห้ง
5.       แล้วนำผ้าไปแช่ในซิลิเกต เพื่อป้องกันสีตกไม่ต่ำกว่า 4   ชั่วโมง
6.       นำผ้าที่ย้อมแล้วไปล้างออกด้วยน้ำเปล่าหลายๆครั้งจนสะอาด
7.       แล้วนำผ้าที่ล้างสะอาดไปตากแดดให้แห้ง
8.       นำผ้าไปเย็บขอบให้สวยงาม



เทคนิคในการทำผ้ามัดย้อมด้วยวิธีการ 3 วิธีการดังนี้
1.       การพับแล้วมัด  กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก  ผลที่ได้จะได้ลวดหลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกัน  แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและเข้มด้านหนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย
2.       การขยำแล้วมัด  กล่าวคือ เป็นการขยำผ้าโดยไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่จะได้ก็คือลวดลายอิสระเนื่องจากการขยำแต่ละครั้ง เราไม่สามารถควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้
3.       การห่อแล้วมัด  กล่าวคือ  เป็นการใช้ห่อวัตถุต่างๆไว้แล้วมัดยางหรือเชือก ลายที่เกิดข้นจะเป็นลายใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่นการนำผ้ามาห่อก้อนหินรูปทรงแปลกๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นักแล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้พื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้อย่างนี้ก็จะมีลาย เกิดขึ้นสวยงามแตกต่างจากการมัดลักษณะวัตถุอื่นๆ

หลักการสำคัญ 
                ในการทำมัดย้อม  คือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด  ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ต้องการให้สีติด  การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั้นเอง  ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้
     ความแน่นของการมัด
                กรณีแรก  มัดมากเกิดไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย  ผลที่ได้ก็คือ  ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม  อาดมีสีย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อยอย่างนี้เกิดลายน้อย
                กรณีที่สอง  มัดน้อยเกินไป  เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบติดผืน  อย่างนี้เกิดลายน้อยเช่นกัน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่แทบไม่มีลวดลาย
                กรณีที่สาม  มัดเหมือนกันแต่มัดไม่แน่น  อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัด เพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไปได้ทั่งผืน






 




วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สรุปบทเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทเรียน
 บทเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        แนวคิด การทำงาน ตลอดถึงการดำเนินชีวิต ของผู้คนในสังคมทั้งในเมืองใหญ่หรือชนบท ต่างก็ได้รับอิทธิพลอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมากบ้างน้อยบ้างต่างระดับกันไป บางครั้งเราก็ซึมซับและรับเอาเทคโนโลยีบางอย่างเข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ ที่สุด เช่น การโทรศัพท์ ซึ่งทำให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารถึงกัน การทำงาน ที่จะประสบความสำเร็จใน ยุคนี้นั้น จะต้องอาศัยทั้งความถูกต้องแม่นยำ ความรวดเร็วในการตัดสินใจ การจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้และวิธีหนึ่งที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ ก็ด้วยการที่เรานำเอาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย เฉกเช่นอดีต ที่ยุคอุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทแทนยุคเกษตรกรรม ซึ่งก็ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนในยุคนั้นเปลี่ยนไป มีการใช้ของที่เป็นอิเลคทรอนิค วิทยุ โทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในยุคใหม่นี้ก็เช่นกันเราจะเห็นได้ว่าชีวิตในการทำงานหรือแม้แต่การเรียนของเราก็ถูกผลักดันให้มีการใช้คอมพิวเตอร์มาก การเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่นี้ก็ยิ่งทวีความรวดเร็วยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมาเสียอีก จึงเป็นการยากที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่สนใจเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในยุคนี้เอาเสียเลย ใน บางครั้งเราก็เรียกยุคเทคโนโลยีนี้ว่า " ยุคดิจิตอล (The Digital Age) " หรือ " ยุคข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ " (The Information Age)
บทเรียนที่ 2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และคน ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่ฮาร์ดแวร์จะเป็นส่วนของอุปกรณ์อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีซอฟต์แวร์เป็นส่วนที่จะสั่งงานทีละคำสั่งๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางครั้งเราเรียกคำสั่งเหล่านี้ว่า "โปรแกรม" (Program) และในระบบนี้จะมี คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะคนเป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ คนบางกลุ่มสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ เราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "โปรแกรมเมอร์" (Programmer) แต่บางคนก็เพียงแต่ซื้อซอฟต์แวร์มาและใช้งานเท่านั้น เราจะเรียกคนเหล่านี้ว่า "ยูสเซอร์ หรือ เอนยูสเซอร์" (Users หรือ End Uses)
 ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์   แยกตามลักษณะของส่วนนำเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process) ส่วนแสดงผล (Output) และส่วนการเก็บข้อมูล (Storage)
บทเรียนที่ 3 เทคโนโลยีเครือข่าย
   ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆมากมาย ซึ่งมีผลทำให้องค์กรทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใชทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด และยังสามารถกำหนดระดับการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับ
              3.
การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น หาก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องติดต่อด้วยไม่อยู่ ก็อาจฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้ง ข่าวสารนั้นทันที


การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆ ดัง  นี้คือ
ตามขนาด: แบ่งเป็น Workgroup , LAN , MAN และ WAN
ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น peer-to-peer และ client-server
ตามรูปแบบ: แบ่งเป็น Bus ,Ring และ Star
ตาม bandwidth: แบ่งเป็น baseband และ broadband หรือว่าเป็น megabits และ gigabits
ตามสถาปัตยกรรม: แบ่งเป็น Ethernet หรือ Token-Ring
ในปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ ได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน
2. ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบเครือข่ายแบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง
3 .
ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LANตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ

บทเรียนที่ 4 เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
การปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นองค์ประกอบในการสั่งการให้เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ดำเนินการปฏิบัติงานต่างๆ    ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แยกได้เป็นสองประเภทหลักๆ ได้แก่ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบจะเกี่ยวข้องกับการจัดการคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์กับตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้แก่ซอฟต์แวร์ทั่วๆ ไปและซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน
    
                 ซอฟต์แวร์ อาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ได้จากการจัดหา จัดจ้าง กฎหมายลิขสิทธิ์มีบทลงโทษ และข้อยกเว้นการกระทำบางประการ การตระหนักถึงข้อห้ามและข้อยกเว้นจะช่วยให้การใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นไปด้วยความถูกต้อง มนุษย์พยายามที่ประดิษฐ์คิดค้นและสร้างเครื่องมือ เพื่อช่วยทำงานทั้งโดยตรง และทางอ้อม หนึ่งในเครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากการใช้งานในยุกต์แรกๆ เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะมนุษย์ต้องสื่อสารโดยตรงกับเครื่อง โดยการสับสวิสต์ บังคับการทำงานเช่นเดียวกับการเปิดปิดสวิสต์ไฟฟ้า ต่อมาจึงเกิดภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลี และภาษาสูงตามลำดับ ภาษาเหล่านี้เองที่เป็นเครื่องมือในการผลิตซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์คืออะไร
    ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้
ประเภทซอฟต์แวร์
    ประเภทซอฟต์แวร์อาจจำแนกได้ตามลักษณะการทำงาน ตามลักษณะการใช้งาน แต่โดยทั่วไปแล้วอาจแบ่งได้ เป็น 5 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packages Software)
ซอฟต์แวร์สั่งระบบงาน (Utility Software)
ซอฟต์แวร์สื่อสาร (Communication Software)

บทเรียนที่ 5 เทคโนโลยีฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง องค์การใดก็ตามที่มีข้อมูลอยู่มักได้เปรียบองค์การคู่แข่ง ดังประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะได้เปรียบประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ได้  

เทคโนโลยีฐานข้อมูล
เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) โดยเฉพาะในส่วนของฮาร์ดแวร์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยมีการเพิ่ม ความเร็วในการประมวลผลและสามารถที่จะรองรับงานได้ทั้งในส่วนการประมวลข้อมูล (Data Processing) การประมวลคำ (Word processing) การประมวลผลภาพ (Image processing) ทำให้โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเพื่อการใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลข่าวสาร จะทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารนั้นได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังสามารถทำกรรมวิธีต่างๆ เช่น การเลือก การจัดกลุ่ม การปรับปรุงฯลฯ ได้อีกด้วยในการนำข้อมูลเข้าและออก จึงทำให้ต้องมีโปรแกรมเพื่อจัดข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า ระบบการจัดการ ฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิยมเลือกใช้ระบบการจัดการฐาน ข้อมูลที่เป็นแบบ RDBMS (Relational Database Management System) ซึ่งจะจัดการในส่วนของ Back-end ของระบบงานฯ ทั้งหมด ในปัจจุบันมีผู้ผลิต Relational RDBMS ที่มีประสิทธิภาพสูงมากมาย ถ้านักพัฒนาระบบงานฯ สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละระบบงานฯ ก็จะเกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในด้านการพัฒนาระบบ งานคอมพิวเตอร์ การใช้งาน ความพอใจของผู้ใช้งานรวมทั้งต้นทุนในการลงทุนอีกด้วย

บทเรียนที่ 6 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ  ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดีควร มีประสบการณ์ ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ดังนั้นหน้าที่ของนักวิเคราะห์ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอน การศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอนทำให้เราเข้าใจระวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบInput/Output อย่างไรเป็นต้น

ระบบ
                         ระบบคือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันระบบอาจจะประกอบด้วย บุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบ จัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน เช่น ระบบการเรียนการสอน มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
การวิเคราะห์ระบบก็คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ และการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็น แบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริง ตัวอย่างระบบสารสนเทศ เช่น ระบบการขาย ความต้องการของระบบก็คือ สามารถติดตามยอดขาย ได้เป็นระยะ เพื่อฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที
      นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst หรือ SA) คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กร หรือธุรกิจนั้นๆ นักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆ เป็นอย่างไร และอะไรคือความต้องการของระบบ

บทเรียนที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศ  ( ข้อมูล, สารสนเทศ และการจัดการ )
ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

 สารสนเทศ (Information)
                 ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดงขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ
การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
                         ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)- ระบบอย่างง่าย (Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
-
ระบบที่ซับซ้อน (Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
-
ระบบปิด (Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
-
ระบบเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
-
ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับ
สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
                     5.
ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)- ระบบถาวร(Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
-
ระบบชั่วคราว(Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

บทเรียนที่ 8 ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
ผู้บริหาร การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหา

บทบาทของผู้บริหาร แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) ได้แก่ บทบาทจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่
- หัวหน้า (Figurehead) มีบทบาทในการบังคับบุคคลเพื่อให้ทำหน้าที่ที่รับผิดชอบ
              -
ผู้นำ (Leader) มีบทบาทในการกระตุ้น/เร้าผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในด้านการทำงาน หรือด้านอื่นๆ
             -
ผู้ติดต่อ (Liaison) มีบทบาทในการติดต่อกับองค์กรภายนอก เพื่อให้ได้ข้อมูลและบริการด้านการค้า
2. บทบาทด้านสารสนเทศ (Informational roles) ได้แก่
- ผู้ตรวจสอบ (Monitor) มีบทบาทในการค้นหาและรับข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอก
- ผู้เผยแพร่ (Disseminator) มีบทบาทในการส่งข้อมูลที่ได้รับจากภายนอก หรือจากหน่วยงานย่อย
ให้กับสมาชิกขององค์กร
- โฆษก (Spokesman) มีบทบาทในการส่งข้อมูลไปยังภายนอก ตามแผนหรือนโยบายขององค์กร
3. บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional roles) ได้แก่
- ผู้จัดการ (Entrepreneur) มีบทบาทในการค้นหาการจัดการและสภาพแวดล้อมที่เป็นโอกาส และ
ริเริ่มหรือแนะนำในด้านการควบคุมภายในองค์กร
- ผู้จัดการสิ่งรบกวน (Disturbance Handler) มีบทบาทในการปรับการทำงานให้ไปในทางที่ถูก
เมื่อองค์การเผชิญกับสิ่งรบกวนที่ไม่คาดคิดมาก่อน
- ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocator) มีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากร ให้แก่หน่วยงาน
ต่างๆ ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้
- ผู้เจรจา (Negotiator) มีบทบาทในการเป็นตัวแทนองค์กรในการติดต่อเจรจากับองค์กรอื่นๆ
ระดับการบริหารแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่
      1. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นงานของผู้บริหารระดับสูง ได้แก่การวางแผนระยาว กำหนดทิศทาง  นโยบายในการจัดสรรทรัพยากร และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ระยะยาว
                              2.
การควบคุมการบริหาร (Management Control) เป็นงานของผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ การวางแผน การติดตาม การตรวจสอบและติดตามงาน และการตรวจสอบว่ามีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่
                         3.
การควบคุมการปฏิบัติงาน (Operational Control) เป็นงานของผู้บริหารระดับล่าง ได้แก่การดำเนินงานที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ให้ได้ผล และมีประสิทธิภาพ

บทเรียนที่ 9 ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
     ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญ ต่อผู้บริหารองค์กรในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผน กลยุทธ ขององค์กรให้สามารถ จัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และหรือ DSS จะเป็น รากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูล (ถ้าจำเป็น) ภายนอก เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้นมิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน การเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสารจึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ

บทเรียนที่ 10 เทคโนโลยีสารสนเทศกับอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดมหึมาที่ครอบคลุมศาสตร์ทุกแขนง รวมถึงบริการต่างๆ ที่มีอยู่มาก มายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ลักษณะการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการนำอินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับอินเตอร์เน็ต
     อินเตอร์เน็ตคืออะไร
                  อินเตอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบ เดียวกัน
     อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นในยุคสงครามเย็น (ปี ค.ศ.1969) โดยหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งได้ ให้การสนับสนุนงานวิจัยแก่หน่วยงาน ต่างๆ เพื่อทำการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในช่วงแรกนั้นรู้จักกันในนามของ "อาร์พาเน็ต (ARPANET)"  เครือข่ายอาร์พาเน็ตมีจุดมุ่งหมายหลักให้คอมพิวเตอร์จากหน่วยหนึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอีกหน่วยหนึ่งโดย ข้อมูลที่ส่งระหว่างกันสามารถที่จะมีเส้นทางออกไปยังปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้น ทาง ระบบเครือข่ายยังคงจะต้องสามารถทำงานได้อยู่ถึงแม้ว่าจะมีคอมพิวเตอร์บางหน่วยถูกทำลายไป เช่น ในกรณีถูกโจมตีจากฝ่ายข้าศึกตรงกันข้ามภายหลังได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงได้มีการนำเอาเครือข่ายของตนเองที่มีอยู่มาเชื่อมต่อเข้า กับระบบเครือข่ายอาร์พาเน็ต ทำให้เครือข่ายขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกขนานนามว่า "อินเตอร์เน็ต (Internet)" และใช้นามนี้มาจนถึงปัจจุบัน
   
     
บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล
                  เครือข่ายอินเตอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยๆ ครอบคลุม เกือบทุกพื้นที่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสาร หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือค้นหาข้อมูลที่อาจจะอยู่ห่างไกลคนละ มุมโลกได้อย่างสะดวก และรวดเร็วอีกทั้งยังมีค่า ใช้จ่ายที่ถูกกว่าการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่นอีกด้วย                

บทเรียนที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน
                    ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและสำนักงาน อุปกรณ์แต่ละชนิดสามารถสื่อสารเชื่อมโยงกันได้โดยสะดวกผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารหลากหลายประเภท อีกทั้งราคาก็ถูกลงจนคุ้มค่าในการพิจารณาลงทุน สำนักงานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในที่นี้จะขอเรียกย่อๆ เพื่อความสะดวกในการกล่าวอ้างว่า "ระบบปฏิบัติการ สำนักงานอัตโนมัติ" หรือ "ระบบสำนักงานอัตโนมัติ"

ระบบปฏิบัติการ สำนักงานอัตโนมัติ
     ระบบปฏิบัติการสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึงสำนักงานซึ่งได้รับการพิจารณาคัดสรรงานต่างๆ ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมมาจัดการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานเดิม ซึ่งมักจะเป็นการปฏิบัติด้วยมือมาเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ หรือ แบบอัตโนมัติสมบูรณ์แบบ นอกจากนั้นยังครอบคลุมรวมถึงการใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นให้สามารถบริหารการสืบค้นเอกสาร ภาพ หรือข้อมูลจากแหล่งจัดเก็บต่างๆ ในสำนักงาน

วัตถุประสงค์ของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
- เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ เป็นระบบต่อเนื่อง มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล
-
ช่วยลดเวลาการจัดการงานในสำนักงานลง ลดค่าใช้จ่าย ด้านแรงงาน เครื่องมือ สถานที่จัดเก็บเอกสาร
-
เพิ่มความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขที่
เปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่
-
ปรับปรุงวิถีปฏิบัติสำนักงานเป็นแบบโลกาวิวัฒน์หรือสำนักงานแบบเทียม (Virtual office)
               
                การจัดการด้านเอกสาร
     - การผลิตเอกสารเพื่อจัดส่งสู่ภายนอก หรือ เวียน แจ้ง จัดส่ง ภายในสำนักงาน
     -
การรับ/ส่ง เอกสารที่ผลิตจากแหล่งภายนอก เพื่อจัดการ ส่ง เวียน แจ้ง หน่วยงาน หรือบุคคล ภายในหน่วยงาน
เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลการเข้าออกปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล และเพื่อรักษาความปลอดภัยสำนักงาน
การนัดหมาย บุคคล/หน่วยงาน การจัดทำดูแล หมายกำหนดการ ปฏิทินงานที่ต้องปฏิบัติ
การติดต่อสื่อสารโดยวิธีโทรศัพท์/แฟก/ฝากข้อความ ระหว่างบุคคลทั้งภายใน และภายนอก องค์กร
การจัดเก็บ ค้นหาเอกสาร การจัดทำสำเนารับรองหลักฐานต่างๆ ทำลายเอกสารที่จัดเก็บ
การจัดการประชุม การจัดเตรียมงานในการนำเสนองานโดยใช้ระบบสื่อประสม (Multimedia)
การจัดการระบบการประชาสัมพันธ์ และติดต่องานอัตโนมัติทั้งในเวลาและนอกเวลาปฏิบัติงาน

บทเรียนที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
                    การศึกษาเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาศัยสื่อที่ทันสมัยโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารในเวลาอันสั้น การศึกษาหาข้อมูลและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพียงแต่ปลายนิ้วสัมผัส โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เกิดเป็นชุมชนบนเครือข่ายขึ้น ผู้คนสามารถติดต่อสัมพันธ์กันผ่านจอคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารความรู้จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญไปสู่อำนาจและความมั่นคงของประเทศและเป็นกุญแจที่จะไปสู่ข้อมูลข่าวสารความรู้ ก็คือ "การศึกษา"
                    
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจะ ลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยเห็นแนวโน้มได้ 3 ลักษณะคือ                 1 เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเป็นการสื่อสารมวลชนมากขึ้น
                2
สภาพของสื่อที่ใช้เสียงในการสื่อสารขณะนี้เริ่มพัฒนาเป็นการสื่อสารด้วยภาพมาก
           
3 สื่อประเภทต่างๆ มีราคาถูกลงโดยมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ปัจจุบันยิ่งพัฒนาไปมากเท่าไร ราคาก็ยิ่งถูกลงทำให้ มีการนำเอามาใช้มากยิ่งขึ้น
          
บทเรียนที่ 13 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาต่าง
การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการติดต่อ ประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเทียวก็ให้บริการข้อมูลข่าวสารและการบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

บทเรียนที่ 14 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การสื่อสารสองทาง มีการโต้ตอบซึ่งกันและกันโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดชุมชนแบบใหม่ที่เรียกว่า ไซเปอร์สเปช (Cyber Space) ซึ่งเป็น ชุมชนที่เชื่อมโยง และติดต่อสื่อสาร กันผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในขณะนี้ เปรียบเสมือนกับคลื่นที่ติดตามกันมาที่เรียกว่าคลื่นลูกที่สาม คือเน้นเทคโนโลยี ระดับสูง และ ปฏิเสธอุตสาหกรรม (Highly Technology and Anti-Industrial Civilization) โดยนำมนุษย์ เข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ มีวงจรไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญ อุตสาหกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัว อย่างรวดเร็วจนกลายเป็น อุตสาหกรรม ที่มีความสำคัญเป็นอันดับ ที่สี่ของโลกรองจากเหล็ก รถยนต์ และ เคมีภัณฑ์ มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ให้มีขนาดเล็กลงเป็นแบบกระเป๋าหิ้ว (Notebook Computer) คอมพิวเตอร์มีราคา ถูกจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรมจนถึงระดับบุคคล มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อกับศูนย์คอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน ต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านค้า หน่วยราชการ หรือที่บ้าน ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ระบบโทรศัพท์เปลี่ยนเป็นระบบใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
สถานการณ์ใหม่ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
               1.
ความต้องการในเชิงของสื่อที่เป็นมวลชน หมายถึง สื่อสารไปสู่ผู้คนจำนวนมากๆ ในคราวเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลัง อำนาจในการ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้จำนวนมากๆ
               2.
ความเร็วในการสื่อสารข้อมูล หมายถึงความเร็วในการสื่อสารข้อมูลเน้นในเรื่องของการสื่อสารแบบสองทางซึ่งจะต้องสามารถ โต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้แบบทันทีทันใด (Real-time)
                3.
ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย หมายถึง การสื่อสารที่อาศัยใยแก้วนำแสง และสื่อสารไร้สายประเภทต่างๆ รวมถึงการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการ สื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเช่น สำนักงานอัตโนมัติ (OA) โรงงานอัตโนมัติ (FA) สิ่งเหล่านี้เข้ามาแทนที่ในการทำงานของคนโดยไม่มีข้อจำกัด กระบวนการคิดของบุคคลจะเปลี่ยน แปลงไป การใช้ข้อมูลข่าวสารจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ คนรุ่นต่อไปต้องเรียนรู้ถึงกระบวนการคิดที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาความสามารถของตนเอง
บทเรียนที่ 15 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีอิทธิพลต่อทุกๆ คนภายในครอบครัว หน่วยงานต่างๆ รวมถึงโรงเรียนและสถานศึกษา นอกจากคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศจะกลายเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับ รถยนต์ ตู้เย็น เครื่องรับโทรทัศน์แล้วคอมพิวเตอร์จะรวมอยู่ในอุปกรณ์ดังกล่าวด้วย ในบทนี้จะได้กล่าวถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

สุดขอบเขตการสื่อสาร
                 สุดขอบเขตการสื่อสารจะรวมเอาทางด่วน อิเล็กโทรนิค ซึ่งประกอบด้วยอินเทอร์เน็ต กลุ่มข่าวสารนับพัน การ
บริการข่าวสารและระบบอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลรวมเข้าเป็นระบบหนึ่งเดียว มีระบบทางด่วนข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมตำแหน่งการเชื่อมต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และเป็นระบบที่มีคนใช้บ่อยที่สุด ระบบการสื่อสารที่เสมือนมีสายลวดพันรอบโลกยังไม่มีใครตั้งชื่อ แต่รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะมีการพูดถึงทางด้านข้อมูล สื่อต่างๆ จะผลิตข่าวสารและกระจายข่าวสารดังกล่าวโดยใช้ระบบการสื่อสารดังกล่าว การใช้ดาวเทียม ทำให้ทราบตำแหน่งของ รถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนถนน สุดขอบเขตการ สื่อสารจะเป็นขอบเขตที่กว้างไกลที่สุด มีผู้ใช้และให้บริการมากที่สุดเช่นกัน ในบรรดา ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นใคร ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงเป็นเขตแดนอันตรายสำหรับผู้ใช้ แต่ทุกๆ วันจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ แม้ว่าจะไม่มีกฏระเบียบการใช้ ผู้บุกเบิกที่มีความรับผิดชอบยอมรับกฎความจริงดังกล่าวและใช้ระบบต่อไป โดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยโดยตรง
    
ระบบการสื่อสารแบบไร้สายจะ เข้ามาแทนที่ระบบการสื่อสารแบบมีสาย คอมพิวเตอร์จะเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในอุปกรณ์หรือเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเช่น ตู้เย็น รถยนต์ และอื่นๆ อีกมาก
    
การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ : ระบบจะส่งข่าวสาร การหลอมรวมของเทคโนโลยี เข้ามามีไปยังผู้ร่วมประชุมหรือผู้สนทนา และผู้พูดสามารถบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันพูดโต้ตอบกันได้เหมือนนั่งอยู่ในที่เดียวกัน