วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำผ้ามัดย้อม


ผ้ามัดย้อม
โรงเรียนบ้านพร่อน
หมู่ 2 ตำบลพร่อน  อำเภอเมือง  จังหวีดยะลา
โทร  073 – 252660
การทำผ้าบาติกมัดย้อม
                การทำผ้าบาติกมัดย้อม  เป็นการตกแต่งลวดลายบนผืนผ้าให้เกิดความสวยงามและสร้างมูลค่าให้แก่พื้นผ้า  การทำผ้าบาติกเป็นการปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติดด้วยเทียน แล้วนำไปย้อมหรือระบายสี  นอกจากนันเมื่อนำไปย้อมในน้ำย้อมครั้งแรกนำขึ้นมาปิดสีแรกด้วยเทียนแล้วนชำไปทำให้เทียนแตก  จะเกิดลวดลายเป็นรอยแตกบนสีแรกเมื่อนำไปย้อมสีที่สอง คือสีที่สองจะแทรกซึมเข้าสู่เนื้อผ้าในส่วนที่เทียนแตก จึงทำให้เกิดลวดลายเส้นขึ้น ส่วนการหมัดย้อมเป็นการกันสีโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยในการมัด ผูก เย็บ เนา พับ เพื่อให้เกิดลวดลายบนพื้นผ้า  ซึ่งลักษณะลวดลายเกิดจากเทคนิคบาติกและมัดย้อมจะมีความแตกต่างกัน มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นเทคนิคการปิดสีเช่นกัน
อุปกรณ์
-          ผ้ามัสลิน  ผ้าฝ้าย  ผ้าลินิน
-          กะละมัง
-          น้ำ
-          สี
-          เชือกฟางหรือยาง ซิลิเกด

ขั้นตอนการย้อมผ้า  คือ
1.       ออกแบบผ้า  แล้วบิดให้เป็นรอย   ควร นำเชือกฝางหรือยาง มามัดผ้า 
2.       ใช้พู่กันจุ่มน้ำ  ทาบนลงผ้าตามต้องการ
3.       นำปลายผ้าที่มัดไว้จุ่มน้ำ  เพื่อให้สีวิ่งตามลายผ้า
4.       ใช้กรรไกรตัดเชือกฟางที่มัดออก  แล้วนำผ้าไปตากแดดให้แห้ง
5.       แล้วนำผ้าไปแช่ในซิลิเกต เพื่อป้องกันสีตกไม่ต่ำกว่า 4   ชั่วโมง
6.       นำผ้าที่ย้อมแล้วไปล้างออกด้วยน้ำเปล่าหลายๆครั้งจนสะอาด
7.       แล้วนำผ้าที่ล้างสะอาดไปตากแดดให้แห้ง
8.       นำผ้าไปเย็บขอบให้สวยงาม



เทคนิคในการทำผ้ามัดย้อมด้วยวิธีการ 3 วิธีการดังนี้
1.       การพับแล้วมัด  กล่าวคือ เป็นการพับผ้าเป็นรูปต่างๆ แล้วมัดด้วยยางหรือเชือก  ผลที่ได้จะได้ลวดหลายที่มีลักษณะลายด้านซ้ายและลายด้านขวาจะมีความใกล้เคียงกัน  แต่จะมีสีอ่อนด้านหนึ่งและเข้มด้านหนึ่ง เนื่องจากว่าหากด้านใดโดนพับไว้ด้านในสีก็จะซึมเข้าไปน้อย
2.       การขยำแล้วมัด  กล่าวคือ เป็นการขยำผ้าโดยไม่ตั้งใจแล้วมัดด้วยยางหรือเชือก ผลที่จะได้ก็คือลวดลายอิสระเนื่องจากการขยำแต่ละครั้ง เราไม่สามารถควบคุมการทับซ้อนของผ้าได้
3.       การห่อแล้วมัด  กล่าวคือ  เป็นการใช้ห่อวัตถุต่างๆไว้แล้วมัดยางหรือเชือก ลายที่เกิดข้นจะเป็นลายใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาใช้ และลักษณะของการมัด เช่นการนำผ้ามาห่อก้อนหินรูปทรงแปลกๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่นักแล้วมัดไขว้ไปมา โดยเว้นจังหวะของการมัดให้พื้นที่ว่างให้สีซึมเข้าไปได้อย่างนี้ก็จะมีลาย เกิดขึ้นสวยงามแตกต่างจากการมัดลักษณะวัตถุอื่นๆ

หลักการสำคัญ 
                ในการทำมัดย้อม  คือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด  ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ต้องการให้สีติด  การมัดเป็นการกันสีไม่ให้สีติดนั้นเอง  ลักษณะที่สำคัญของการมัดมีดังนี้
     ความแน่นของการมัด
                กรณีแรก  มัดมากเกิดไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย  ผลที่ได้ก็คือ  ได้สีขาวของเนื้อผ้าเดิม  อาดมีสีย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อยอย่างนี้เกิดลายน้อย
                กรณีที่สอง  มัดน้อยเกินไป  เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบติดผืน  อย่างนี้เกิดลายน้อยเช่นกัน ทั้งผืนมีสีย้อมแต่แทบไม่มีลวดลาย
                กรณีที่สาม  มัดเหมือนกันแต่มัดไม่แน่น  อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัด เพราะหากมัดไม่แน่นสีก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไปได้ทั่งผืน






 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น